วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัยรุ่นกับการพัฒนาสาธารณสุขชุมชน


ความหมายและความสำคัญของงานสาธารณสุขชุมชน
 
งานสาธารณสุขชุมชน :: งานบริการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนในชุมชน มุ่งเน้นงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันควบคุมโรคโดยสมาชิกในชุมชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยมีภาครัฐและเอกชน คอยสนับสนุน
        แม้ว่ารัฐบาลจะมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคแล้วก็ตามแต่ก็ช่วยได้บ้างเฉพาะค่ารักษาพยาบาล แต่การดูแลสุขภาพหลังการเจ็บป่วย เราต้องเป็นฝ่ายออกเอง ด้วยเหตุนี้เอง งานสาธารณสุขจึงได้มีการปรับเปลี่ยนแนวความคิดไปในทิศทางเดียวกับแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะงานสาธารณสุขมูลฐานที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ และ เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน
การจัดการของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพเรียกว่า ระบบสุขภาพเพื่อประชาชน นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชนให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ เพื่อลดการพึ่งพาสาธารณสุขในอนาคต

ระบบสุขภาพภาคประชาชน
        เป็นการจัดการงานสาธารณสุขมูลฐานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้และเข้าใจ โดยมีภาครัฐและองค์กรเอกชนภายนอกให้การสนับสนุน นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาองค์กรอาสาสมัคร และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการจัดการงานบริการส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆด้วย
มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ
1.คน เป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยสมาชิกในชุมชนช่วยกันคิด/ทำ เพื่อช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนสุขภาพแข็งแรง พึ่งตนเองได้
2.องค์ความรู้ เช่น วิทยากร วิธีการ เทคโนโลยี ภูมิปัญญา การถ่ายทอดและการกระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารในชุมชน
3.ทุน ทั้งที่เป็นตัวเงินในลักษณะการเงินการคลังด้านสุขภาพ และทุนทางสังคม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญา เป็นนต้น
    องค์ประกอบทั้ง 3 ประการข้างต้นจะไม่เป็นประโยชน์ หากขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ ดัง
กรอบแนวคิด ดังต่อไปนี้

บทบาทและความสำคัญของวัยรุ่นต่อการพัฒนางานสาธารณสุขชุมชน
          วัยรุ่นนั้นคือกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ วัฒนธรรม เป็นกลุ่มที่มีพลังและมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาประเทศในด้านต่างๆให้มัแจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ถ้าวัยรุ่นสามารถนำเอาพลังนี้มาใช้ในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การออกแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาสาธารณสุขในชุมชนของประเทศไทยโดยการ
        1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการบริการทางสาธารณสุขเป็นประจำ
        2. ติดตามข่าวสารด้านสาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ
        3. ดูแลสุขภาพของตนและครอบครัวอย่างดี
        4. แนะนำให้คนรอบข้างหันมาดูแลสุขภาพในวิธีที่ถูกต้องมาขึ้น
        5.สมัครเข้าเป้นอาสาช่วยเหลือเพื่อนบ้านในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
        6. พยายามเผยแพร่ความรู้และข่าวสาร เช่น นำข่าวที่ได้จากหน่วยงานสาธารณสุขไปใช้ในห้องสมุดรร. หรือ ห้องสมุดชุมชน นำข่าวสารจากแหล่งต่างๆมาเขียนเป็นบทย่อแล้วแจกจ่ายให้ในหลายๆพื้นที่แก่ผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพตามเนื้อหาที่มีในเอดสาร แล้วนำข่าวสารไปบรรยาย จัดนิทรรศการ และให้ความรู้ทางการกระจายเสียง เป็นต้น
        7. มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่นร่วมกายบริหาร หรือ ออกกำลังกายในตอนเช้า
        8. ริเริ่มกิจกรรมเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในชุมชน เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและอนามัย
เท่านี้เราก็สามารถช่วยเหลือชุมชนมากมายที่ขาดความรู้ในการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพดีอย่างถูกต้องได้  แต่การบรรยายและให้ความรู้อย่างเดียวนั้นอาจไม่เพียงพอ เราต้องส่งเสริมให้เขาปฏิบัติให้ได้ เช่น ในรุ่นผู้ใหญ่ ถ้ามาร่วมกายบริหารครบ10ครั้ง จะสามารถแลกข้าวได้1ถุง หรือ ในรุ่นนร.ให้ออกกฏว่าทุกรร.นร.จะต้องเข้าร่วมกายบริหารตอนเช้าอาทิตย์ละ2ครั้ง เป็นต้น

แนวทางและรูปแบบในการเข้าร่วมสร้างเสริมพัฒนางานสาธารณสุขชุมชนของวัยรุ่น             
        แนวทางในการเข้าร่วมสร้างเสริมพัฒนางานสาธารณสุขชุมชน มีดังนี้
    1.เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขโรงเรียน เช่น
        - ปฏิบัติตนดูแลสุขภาพตนเองให้เป็นสุขนิสัย เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เพื่อนนักเรียน
        - เป็นตัวแทนในการตรวจสุขภาพนักเรียน
        - ช่วยงานครูสุขศึกษา/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
        - ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยแก่เพื่อนนักเรียน
        - ร่วมกันวางแผน ประชุมกลุ่มอาสาสมัครเดือนละ 1 ครั้งและชักชวนนักเรียนที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร
   2.สมัครเข้าเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน
      2.1 สมัครเข้าเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซี่งมีบทบาทที่สำคัญ เช่น แจ้งข่าวสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และชาวบ้านในชุมชน ให้คำแนะนำและเผยแพร่ความรู้แก่คนในชุมชน
      2.2 สมัครเข้าร่วมในโครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารในชุมชน ซึ่งแสดงบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
           - จัดเวที เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจ รวมทั้งเตรียมแผนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลในชุมชน
           - สำรวจ รวบรวม และจัดระบบข้อมูลในชุมชน
           - เปิดเวทีประชาคมในหมู่บ้าน
           - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดศูนย์ข้อมูลข่าวสารในชุมชน
           - ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน
           - มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ
           - ประเมินโครงการ